ครูชาญวิทย์

ครูชาญวิทย์
Blog Sites เพื่อประกอบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ กิจกรรมฝึกทักษะทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบทดสอบประเมิน 1







1. ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร

  • 1) วิธีการทางประวัติศาสตร์
  • 2) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 
  • 3) เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
  • 4) กระบวนการทางประวัติศาสตร์

2. ข้อใดเป็นหลักฐานชั้นรอง

  • 1) อนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ
  • 2) โบราณสถานโบราณวัตถุ
  • 3) หนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าว
  • 4) จดหมายเล่าเรื่องราวต่าง ๆ 

3. ข้อใดเป็นการแบ่งประเภทหลักฐานทางประวัติ- ศาสตร์ ตามความสำคัญ

  • 1) หลักฐานชั้นต้นกับหลักฐานชั้นรอง
  • 2) เป็นลายลักษณ์อักษรกับไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
  • 3) หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นกับหลักฐานทางธรรมชาติ
  • 4) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์

4. ลิลิตยวนพ่ายใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยใด

  • 1) สมัยสุโขทัย           
  • 2) สมัยอยุธยา            
  • 3) สมัยธนบุรี
  • 4) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

5. การพิจารณาสาระที่อยู่ในหลักฐานว่าบอกเล่าเรื่องราว อะไรบ้าง เรียกว่าอะไร

  • 1) การประเมินภายใน
  • 2) การวิพากษ์ภายนอก
  • 3) การประเมินภายนอก
  • 4) การตรวจสอบหลักฐาน

6. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินภายนอก

  • 1) เพื่อดูว่าข้อมูลเชื่อถือได้หรือไม่
  • 2) เพื่อต้องการช่วงเวลาของหลักฐาน
  • 3) เพื่อต้องการรู้วิธีการนำเสนอข้อมูล
  • 4) เพื่อให้รู้ว่าหลักฐานนั้นจริงหรือปลอม

7. หลักฐานประเภทใดไม่ควรใช้ในการศึกษา ประวัติศาสตร์

  • 1) หลักฐานปลอม
  • 2) หลักฐานที่เขียนหลังเหตุการณ์
  • 3) หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง
  • 4) ไม่มีข้อใดถูก

8. การทำความเข้าใจว่าหลักฐานให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง อะไร เป็นขั้นตอนใดของวิธีการทางประวัติศาสตร์

  • 1) การตีความ
  • 2) การประเมินหลักฐาน
  • 3) การรวบรวมหลักฐาน
  • 4) การเรียบเรียงและนำเสนอ


9. สิ่งใดที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานสนับสนุน

  • 1) ความจริง               
  • 2) ข้อเท็จจริง             
  • 3) ความคิดเห็น
  • 4) ถูกทุกข้อ

10. การตีความขั้นต้นจะทำไม่ได้เลยถ้าผู้ตีความขาดความรู้เรื่องอะไร

  • 1) อายุของหลักฐาน
  • 2) ประวัติของผู้สร้างหลักฐาน
  • 3) สภาพสังคมในช่วงเวลาที่สร้างหลักฐาน
  • 4) ความหมายของถ้อยคำสำนวนในหลักฐาน

11. พระเจ้าอู่ทองมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อย่างไร

  • 1) กู้เอกราชจากพม่า
  • 2) รวมสุโขทัยกับอยุธยาเข้าด้วยกัน
  • 3) สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
  • 4) ปกครองบ้านเมืองแบบพ่อปกครองลูก

12. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

  • 1) ช่องว่างทางการเมือง
  • 2) ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์
  • 3) ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่
  • 4) การให้ความช่วยเหลือจากต่างชาติ

13. ใครที่เสนอแนวคิดว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นผู้ครองเมืองละโว้ หรือเมืองสุพรรณภูมิมาก่อน

  • 1) ซี มง เดอ ลาลูแบร์
  • 2) นายตรี อมาตยกุล
  • 3) หลวงประเสริฐอักษรนิติ์
  • 4) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

14. ในสมัยอยุธยาตอนต้นกรมใดที่มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของอาราจักร

  • 1) กรมวัง                       
  • 2) กรมนา                       
  • 3) กรมคลัง
  • 4) กรมเวียง

15. เมืองในข้อใดจัดเป็นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาตอนต้น

  • 1) ลพบุรี ปราจีนบุรี ถลาง
  • 2) ทวาย ตะนาวศรี สงขลา
  • 3) พระประแดง ลพบุรี นครนายก
  • 4) นครศรีธรรมราช เพชรบุรี สุพรรณบุรี

16. กฎหมายใดที่ลงโทษผู้ละเมิดพระราชโองการพระราชบัญญัติ

  • 1) กฎมณเทียรบาล พ.ศ. 2011
  • 2) กฎหมายลักษณะอาญาหลวง (เพิ่มเติม)
  • 3) กฎหมายลักษณะอาญาขบถศึก พ.ศ. 2000
  • 4) พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พ.ศ. 1998

17. "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง" คำกล่าวนี้มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

  • 1) ทรงเป็นจอมทัพ
  • 2) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
  • 3) ทรงเป็นประมุขของชาติ
  • 4) ทรงควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

18. กฎหมายฉบับใดที่จำแนกฐานะทางสังคมของชาวอยุธยาตั้งแต่ชนชั้นสูงสุดจนถึงต่ำสุด

  • 1) กฎมณเฑียรบาล พ.ศ. 2011
  • 2) กฎหมายลักษณอาญาขบถศึก พ.ศ. 2000
  • 3) พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พ.ศ. 1998
  • 4) พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998


19. อะไรเป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยา

  • 1) ความเข้มแข็งของอาณาจักรพม่า
  • 2) ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
  • 3) การแย่งชิงอำนาจของขุนนางและเจ้านาย
  • 4) ถูกทุกข้อ

20. พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาคือใคร

  • 1) สมเด็จพระเพทราชา
  • 2) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • 3) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
  • 4) สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

21. สมัยอยุธยาใช้ระบบใดในการจัดระเบียบชนชั้นในสังคม

  • 1) ระบบขุนนาง
  • 2) ระบบมูลนาย
  • 3) ระบบศักดินา
  • 4) ระบบชนชั้นปกครอง

22. ในสังคมอยุธยาคนกลุ่มใดมีจำนวนมากที่สุด

  • 1) ไพร่
  • 2) ทาส
  • 3) ขุนนาง
  • 4) พระสงฆ์

23. บุคคลใดไม่มีการกำหนดศักดินาไว้

  • 1) ไพร่
  • 2) ทาส
  • 3) พระสงฆ์
  • 4) พระมหากษัตริย์

24. ไพร่ประเภทใดขึ้นทะเบียนสังกัดพระมหากษัตริย์โดยตรง

  • 1) ไพร่สม
  • 2) ไพร่ส่วย
  • 3) ไพร่ทาส
  • 4) ไพร่หลวง

25. ข้อใดเป็นพระราชกณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

  • 1) สร้างวัด
  • 2) เสด็จออกผนวช
  • 3) สังคายนาพระไตรปิฎก
  • 4) ส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนา

26. ในสมัยอยุธยามีการเก็บฤชา อากร ส่วย จากบุคคลกลุ่มใด

  • 1) ราษฎร
  • 2) ชาวจีน
  • 3) ขุนนาง
  • 4) ชาวตะวันตก

27. กรมท่าซ้ายที่ตั้งในสมัยอยุธยามีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร

  • 1) การค้าภายใน
  • 2) การค้ากับชาติยุโรป
  • 3) การค้ากับดินแดนทางตะวันตก
  • 4) การค้ากับดินแดนทางตะวันออก

28. ในสมัยอยุธยาสินค้าประเภทใดต้องซื้อขายผ่านพระคลังสินค้า

  • 1) ผ้าแพร
  • 2) พริกไทย
  • 3) กำมะถัน
  • 4) เครื่องปั้นดินเผา

29. อากรประเภทใดเก็บจากผู้ปลูกอ้อย ข้าวโพด

  • 1) อากรนา
  • 2) อากรสวน
  • 3) อากรศุลกากร
  • 4) อากรสมพัตสร

30. การสร้างและดูแลป้อม ค่าย จัดเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด

  • 1) เบี้ยหวัด
  • 2) การทหาร
  • 3) พระราชพิธี
  • 4) ราชการพิเศษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น